หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล วังตะกู ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
   
 
 
 
 
อบต.วังตะกู อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร
 
 
 
ชาวบ้านในตำบลวังตะกู มีสภาพความเป็นอยู่แบบเรียบง่าย มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน โดยชาวบ้านส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธ และมีวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจ และเป็นศูนย์รวมของการทำกิจกรรมทางศาสนา ในวันสำคัญต่างๆ และเนื่องด้วยสภาพภูมิประเทศที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ ซึ่งเอื้อต่อการทำการเกษตร ทำให้ประชาชนที่นี่ส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม และในการดำเนินชีวิต ชาวบ้านก็ได้นำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันด้วย
 
   
ในพื้นที่ความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลวังตะกู สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษา มีจำนวน 2 แห่ง คือ

โรงเรียนวัดมะกอกงอ

โรงเรียนวัดลำประดาเหนือ
 
   
ในพื้นที่ตำบลวังตะกูมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
จำนวน 2 แห่ง คือ

ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 11 ตำบลวังตะกู

ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 7 บ้านลำประดาเหนือ
อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100
 
     
การนับถือศาสนา

ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่หรือทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ
ประเพณีและงานประเพณี

การจัดประเพณีสงกรานต์ชาววัง ในเทศกาลสงกรานต์

รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ในเทศกาลสงกรานต์

ประเพณีลอยกระทง
ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ด้านจักสาน ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1,2,3,9

ด้านดนตรี,หมอพ่นลมพิษ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1,4,8

น้ำพริกแกง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 2,10

การเย็บผ้า ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 2

ปุ๋ยน้ำชีวภาพ/วิทยากรเกษตรธรรมชาติ
    ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 3

จักสานไม้ไผ่ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 3

จักสานกะบุง,ตะกร้า,ไทร,รอบดักปลา
    ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 3

แต่งกลอน,เพลง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 3

ช่างไม้ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4

การถนอมอาหารต่างๆ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4

หมอนวดแผนโบราณ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4,5,12

ผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5

ช่างไม้กวาดทางมะพร้าว ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5

จักสานตะแกรงล้างปลา ตะกร้า ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 6

หมอเป่าพ่น (ก้านติดคอ ไฟลามทุ่ง) ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 6

ผู้นำด้านการจัดทำศาสนพิธี ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 7

การดูลายมือ ดูตำราตัวเลข ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 11

การทำดอกไม้จันทน์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 11
ภาษาถิ่น
คนส่วนใหญ่อพยพมาจากอำเภอหินกอง จังหวัดสระบุรี พูดภาษาลาว/ญวน สระบุรี และ ชาวจีนพูดภาษาไทยกลาง
 
 
 
 
 
สายตรงนายก
โทร 056-619-877